โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
อาการของโรคหลอดเลือดสมอง FAST F = Face ใบหน้าบูดเบี้ยว, ชาข้างใดข้างหนึ่ง A = Arms แขน ขา, อ่อนแรงข้างใดข้างหนึ่ง S = Speech พูดสับสน, พูดไม่เป็นภาษา T = Time ทันทีทันใด หากมีอาการในข้อหนึ่งข้อใดดังต่อไปนี้ ควรรีบพบแพทย์ทันที เพราะอาการเหล่านี้ล้วนเป็นอาการของโรคหลอดเลือดสมองทั้งสิ้น 1.มีอาการชาหรืออ่อนแรงของแขนขา หรือใบหน้าข้างใดข้างหนึ่ง 2. ตาข้างใดข้างหนึ่งมัวหรือมองไม่เห็น 3. พูดลำบาก พูดไม่ได้ หรือไม่เข้าใจคำพูด 4. มีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงโดยไม่มีสาเหตุชัดเจน 5. มีอาการมึนงง หรือเดินไม่มั่นคง เสียศูนย์ การรักษา การรักษาให้ได้ผลดีขึ้นอยู่กับ 1. เวลา ยิ่งได้รับการรักษาเร็วเท่าไร จะยิ่งมีโอกาสหายเป็นปกติได้มาก 2. ความรุนแรงของโรคที่เป็น ผู้ป่วยที่อาการรุนแรงน้อยจะมีโอกาสหายได้สูงกว่า 3. ความพร้อมของเทคโนโลยีในการรักษา โดยใช้อุปกรณ์หรือเทคนิคที่เหมาะสมและยาที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เป็นปัจจัยที่สำคัญของผลการรักษา สำหรับการรักษาโรคหลอดเลือดสมอง ที่เกิดจากการตีบหรืออุดตันของหลอดเลือดในระยะเฉียบพลันที่มีการศึกษายืนยันแล้วว่าได้ผลดีชัดเจน ได้แก่ 1. การให้ยาสลายลิ่มเลือด (Tissue plasminogen activator, tPA) ทางหลอดเลือดดำแก่ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันภายในเวลา 3 ชั่วโมงหลังเกิดอาการ จะเพิ่มโอกาสของการฟื้นตัวจากความพิการให้อาการกลับมาใกล้เคียงปกติได้ถึง 1.5 – 3 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ป่วยกลุ่มที่ไม่ได้รับยา อย่างไรก็ตามการใช้ยานี้มีความเสี่ยงของเลือดออกในสมองได้ประมาณ 6% 2. การให้รับประทานยาแอสไพรินอย่างน้อย 160 mg ต่อวันภายใน 48 ชั่วโมงหลังเกิดอาการ จะช่วยลดโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบตันซ้ำและเสียชีวิตลง 3. การรับตัวผู้ป่วยไว้ในหอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน (acute stroke unit) นับเป็นการรักษาที่ช่วยลดอัตราการตายหรือพิการอีกวิธีหนึ่ง 4. การผ่าตัดเปิดกะโหลก (Hemicraniectomy) จะพิจารณาทำเฉพาะกรณีที่มีอาการรุนแรงและมีการตีบหรืออุดตันของหลอดเลือดแดงใหญ่ Middle cerebral atery ในสมองเท่านั้น โดยมีหลักฐานการศึกษาว่าการผ่าตัดดังกล่าวสามารถลดอัตราการตายของผู้ป่วยได้ นอกจากนี้การควบคุมความดัน การป้องกันภาวะแทรกซ้อน การทำกายภาพฟื้นฟู การที่คนในครอบครัวร่วมมือกันในการดูแลยามที่ผู้ป่วยท้อแท้ การให้กำลังใจผู้ป่วย ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการฟื้นตัวของผู้ป่วยทั้งสิ้น การรักษาทางกายภาพบำบัดในผู้ป่วยโรคทางระบบประสาท (Neurologic Physical Therapy) เพื่อการฟื้นฟูสำหรับโรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาต (Stroke) 1. กายภาพบำบัดเพื่อช่วยกระตุ้นให้เกิดการฟื้นตัวกล้ามเนื้อ 2. กายภาพบำบัดเพื่อช่วยกระตุ้นการเคลื่อนไหวเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาเคลื่อนไหวส่วนต่างๆได้ตามปกติ หรือ ใกล้เคียงกับชีวิตปกติให้ได้มากที่สุด 3. กายภาพบำบัดเพื่อช่วยกระตุ้นการรับความรู้สึกของผู้ป่วย 4. กายภาพบำบัดเพื่อช่วยป้องกันการติดแข็งของกล้ามเนื้อ เอ็น และข้อต่อ 5. กายภาพบำบัดเพื่อช่วยทำให้ระบบการไหลเวียนเลือดของผู้ป่วยให้ดีขึ้น ภาวะแทรกซ้อนของโรคหลอดเลือดสมอง การติดเชื้อ ทางเดินหายใจ : พบการติดเชื้อที่ปอดบ่อยที่สุด มักเกิดจากการสำลักอาหาร, น้ำลาย ทางเดินปัสสาวะ : การขับถ่ายไม่สะดวก ผิวหนัง : แผลกดทับ, แผลติดเชื้อ ข้อติด เกิดจากการไม่ได้เคลื่อนไหวข้อเป็นเวลานาน จะเกิดการเคลื่อนไหวลำบาก เจ็บเวลาขยับ อักเสบ บวมแดงร้อน ป้องกันโดยช่วยผู้ป่วยขยับข้อต่างๆ ในข้างที่ไม่มีแรง (passive exercise) การเกร็งของกล้ามเนื้อ เกิดจากการขาดการเชื่อมโยงของสมองกับเซลประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหว ทำให้เคลื่อนไหวลำบาก การบิดงอของแขนขา ข้อติด ปวด ลักษณะมือจีบ แขนเกร็ง เหมือนลิง การรักษา การทำ passive exercise ข้อมูลอ้างอิง www.medlib.si.mahidol.ac.th สํานักอนามัย กรุงเทพมหานคร
0 Comments
โรคพาร์กินสันกับการออกกำลังกาย
อาจารย์ ดร.สุรสา โค้งประเสริฐ คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การออกกำลังกายคืออะไร? เมื่อพูดถึงการออกกำลังกายในผู้ป่วยพาร์กินสัน เชื่อว่าหลายคนคงมีคำถามกับคำว่า การออกกำลังกาย (Exercise) กิจกรรมทางกาย (Physical activity) และการทำกายภาพบำบัด (Physical Therapy) คืออะไร เหมือนกันหรือไม่ อาจมองเป็นภาพรวมเดียวกันหรือแยกจากกัน หรือแค่เรียกต่างกัน ดังนั้นผู้เขียนขอแยก 3 สิ่งเหล่านี้ออกมาให้ชัดเจน เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันในเนื้อหาที่จะกล่าวต่อไป กิจกรรมทางกาย (Physical activity)1 คือ การเคลื่อนไหวหรือการทํางานของร่างกาย โดยใช้กล้ามเนื้อโครงสร้าง และทําให้มีการใช้พลังงานของร่างกายมากกว่าในขณะพัก การออกกำลังกาย(Exercise)1 คือ กิจกรรมทางกายหรือการออกกําลังเคลื่อนไหวร่างกายที่มีการวางแผน มีแบบแผน โดยจะเป็นกิจกรรมที่มีการกระทําซ้ำๆหรือสม่ำเสมอ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มหรือคงไว้ซึ่งสมรรถภาพทางกาย(Physical fitness) แล้วสมรรถภาพร่างกายคืออะไร? สมรรถภาพร่างกาย (Physical fitness) คือ สภาวะความสมบูรณ์ของร่างกายที่จะประกอบกิจกรรมทางกายต่าง ๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีพลังงานเหลือไว้ใช้ในสภาวะที่จําเป็น สมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ (Health-related components of fitness) มีองค์ประกอบดังนี้
การออกกำลังกายในผู้ป่วยพาร์กินสันสำคัญมากแค่ไหน? การออกกำลังกายในผู้ป่วยพาร์กินสันถือเป็นเรื่องที่จำเป็นและมีความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยไม่ต้องคำนึงถึงระยะเวลาในการเกิดโรคหรือ เห็นความผิดปกติหรือมีความบกพร่องในการคเลื่อนไหวแล้วจึงเริ่มคิดที่จะออกกำลังกาย จากรายงานการวิจัยพบว่า การทำกิจกรรมทางกาย (Physical activity) และการออกกำลังกาย (Exercise) อย่างเป็นประจำทุกวันสามารถช่วยลดความเสี่ยงของการพัฒนาความรุนแรงของโรค2 ได้ และอาจจะมีผลต่อการป้องกันเซลล์สมองได้3 ตามธรรมชาติผู้สูงอายุทั่วๆไปสูญเสียความอดทนของระบบไหลเวียนเลือดเนื่องจากการลดลงของกิจกรรมที่ทำในแต่ละวัน ตามอายุที่มากขึ้น4 ผู้ป่วยพาร์กินสันเองก็ประสบกับปัญหานี้ รวมถึงมีการเปลี่ยนแปลงของพิสัยการเคลื่อนไหว (Range of Motion, ROM) ความช้าในการเคลื่อนไหว (Bradykinesia) ความแข็งเกร็งของกล้ามเนื้อ ส่งผลให้ผู้ป่วยพาร์กินสันมีความเสี่ยงสูงในการเกิดปัญหาทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ เนื่องจากกลไกของโรค การรักษาด้วยยา อาจช่วยลดอาการแข็งเกร็ง (Rigidity) และความช้าในการเคลื่อนไหว(Bradykinesia) ได้ แต่ไม่สามารถช่วยแก้ปัญหาของ พิสัยการเคลื่อนไหว (ROM) ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Strength) การทรงตัวและความสามารถในการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวันได้ ดังนั้นการที่จะดูแลรักษาผู้ป่วยพาร์กินสันให้ถึงเป้าหมายและมีประโยชน์สูงสุดจึงจำเป็นต้องใช้การรักษาด้วยยาควบคู่ไปกับการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องและมีวินัย ควรออกกำลังกายอย่างไร เมื่อไรและบ่อยแค่ไหน? รูปแบบการออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยพาร์กินสันควรคำนึงถึงองค์ประกอบ 3 ข้อดังนี้
ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการออกกำลังกายคือ ช่วงที่ยาออกฤทธิ์ดีที่สุด (on-time) เนื่องจากผลของยาจะช่วยลดอาการแข็งเกร็งและอาการช้า5 นอกจากนี้การออกกำลังกายไม่ควรทำให้เกิดอาการเจ็บปวดหรือบาดเจ็บต่อร่างกาย หรืออะไรก็ตามที่จะไปส่งผลให้ผู้ป่วยหยุดการออกกำลังกาย รูปแบบการออกกำลังกายที่เหมาะสมจึงจำเป็นอย่างมากในผู้ป่วยพาร์กินสัน เนื่องจากส่วนใหญ่ผู้ป่วยเป็นผู้สูงอายุและอาจมีปัญหาทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ เช่น กระดูกพรุน ข้อเข่าหรือกระดูกสันหลังเสื่อม การออกกำลังกายเพื่อพัฒนา ความอ่อนตัวหรือความยืดหยุ่น (Flexibility) ควรทำเป็นประจำอย่างน้อย 5 วันต่อสัปดาห์ และจำเป็นต้องทำทุกวันในกรณีที่ความรุนแรงของโรคเพิ่มขึ้น และในขณะยืดกล้ามเนื้อควรคงค้างไว้ อย่างน้อย 30 วินาที6 ทำต่อเนื่องประมาณ 2 ครั้ง ในแต่ละกลุ่มมัดกล้ามเนื้อ การออกกำลังกายเพื่อพัฒนา ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ( Muscular Strength) สำหรับผู้ป่วยพาร์กินสันเป็นเรื่องจำเป็น ถึงแม้ว่าปัญหากล้ามเนื้ออ่อนแรงไม่ใช่อาการโดยตรงของผู้ป่วยพาร์กินสันหากแต่เป็นผลมาจากการไม่ได้ใช้และกิจกรรมที่ลดลงทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงลง แต่โชคดีที่ปัญหานี้ในผู้สูงอายุและผู้ป่วยพาร์กินสันสามารถแก้ไขได้ เนื่องจากเราสามารถเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อได้โดยวิธีฝึกออกกำลังกายด้วยแรงต้าน ซึ่งจะส่งผลให้พื้นที่หน้าตัดของกล้ามเนื้อมีขนาดเพิ่มขึ้น7 นอกจากนี้ในผู้ป่วยพาร์กินสันที่มีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นก็มีการพัฒนาของ ความเร็วในการเดิน ความยาวของช่วงก้าวและท่าทางที่ดีขึ้น8 การใช้ยางยืด การใช้น้ำหนักถ่วง หรือแม้กระทั่งการใช้น้ำหนักร่างกายถือเป็นแรงต้านได้ทั้งสิ้น ขึ้นกับรูปแบบและกลุ่มกล้ามเนื้อที่ต้องการ การออกกำลังกายเพื่อพัฒนา ความอดทนของระบบไหลเวียนเลือด ( Cardio respiratory Endurance) วิธีที่ง่ายที่สุดสำหรับผู้ป่วยพาร์กินสันคือการเดิน เดินต่อเนื่องอย่างน้อย 30 นาที ด้วยความหนักระดับปานกลาง [Max Heart rate (220-อายุ) x 70-80% ] อย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ สามารรถช่วยชะลอการดำเนินโรคที่เกิดขึ้นได้ แพทย์ถือว่าเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการแนะนำและกระตุ้นให้ผู้ป่วยพาร์กินสันมีการเริ่มต้นออกกำลังกายตั้งแต่ในระยะเริ่มแรกเพื่อที่จะคงสภาพความสามารถในการเคลื่อนไหวของร่างกาย ป้องกันการลดกิจกรรมต่างๆและเพิ่มความสามารถทางด้านร่างกายของผู้ป่วย หากแต่เมื่อโรคดำเนินมาถึงระยะกลางและเริ่มรุนแรง ปัญหาต่างๆที่ตามมาเช่น ปัญหาการเดิน การทรงตัว ท่าทางโครงสร้างร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงการเคลื่อนย้ายที่ลำบากมากขึ้น ปัญหาเหล่านี้จำเป็นต้องส่งปรึกษาและใช้เทคนิคการรักษาด้วยนักกายภาพบำบัด จากงานวิจัยที่ผ่านมาพบว่า เทคนิคการฝึกโดยใช้การกระตุ้น (Cueing strategies) ช่วยพัฒนาความสามารถในการเดินได้ เทคนิคการฝึกแบบ Cognitive movement strategies ช่วยพัฒนาความสามารถในการเคลื่อนย้ายที่ได้ หรือการฝึกแบบ steps training ช่วยแก้ปัญหาการทรงตัวได้9 รวมถึงการฝึกเพื่อพัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและเพิ่มมุมพิสัยของข้อต่อ สิ่งเหล่านี้นักกายภาพบำบัดเองจำเป็นต้องประเมินและวิเคราะห์ปัญหาในแต่ละผู้ป่วยและออกแบบโปรแกรมการฝึกรวมถึงแนะนำการออกกำลังกายที่เหมาะสม ให้ผู้ป่วยสามารถทำได้เองเป็นประจำและเป็นกิจกรรมที่ผู้ป่วยรู้สึกชอบหรือสนใจ จะช่วยให้ผู้ป่วยมีการออกกำลังกายที่ต่อเนื่องและสามารถพัฒนาการเคลื่อนไหว รวมถึงมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ นอกเหนือจากเทคนิคหรือรูปแบบการออกกำลังกายที่นักกายภาพบำบัดสามารถแนะนำและรักษาผู้ป่วยพาร์กินสันได้ ในปัจจุบันมีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการออกกำลังกายแบบเต้นรำบำบัด10 (Dance therapy) ภายใต้กลยุทธ์เทคนิคเป้าหมายที่พบว่าช่วยพัฒนาความสามารถในการเคลื่อนไหวรวมถึงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยพาร์กินสันได้แหมือนกัน อีกทั้งยังเป็นรูปแบบกิจกรรมที่สามารถดึงดูดและกระตุ้นความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรมการออกกำลังกายในผู้ป่วยได้ เช่นการฝึกรำไทย11 (Thai dance) ไทชิ12(Tai Chi) ชี่กง13 (Qigong) และเต้นแทงโก้14 (Tango) นักกายภาพบำบัดที่ดีควรประเมินและชี้แจงความสามารถในการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยแต่ละคน เช่นเดียวกับการค้นหาในกิจกรรมในแบบที่ผู้ป่วยสนใจและถนัดเพื่อกระตุ้นให้ผู้ป่วยสามารถมีกิจกรรมการเคลื่อนไหวและออกกำลังกายได้อย่างเป็นประจำ เพราะโดยปกติผู้ป่วยมักมีปัจจัยทั้งภายในและภายนอกที่ส่งผลต่อการทำกายภาพบำบัด แผนภาพ1: ปัจจัยภายในและภายนอกที่ส่งกระทบต่อการทำกายภาพบำบัดในผู้ป่วยพาร์กินสัน15 1. ACSM’s Guidelines for Exercise Testing and Prescription 7th ed. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins; 2006 2. .Ahlskog JE. Does vigorous exercise have a neuroprotective effect in Parkinson disease? Neurology 2011;77(3):288–94. 3.Tajiri N, Yasuhara T, Shingo T, Kondo A, Yuan W, Kadota T, et al. Exercise exerts neuroprotective effects on Parkinson’s disease model of rats. Brain Res 2010;1310:200–7. 4.Physical activity and health: A report of the surgeon general.(1996). Recommendations from center for disease control and prevention, the American College of Sports Medicine and the American Heart Association. 5.Pavese, N., Evans, A.H., Tai, Y.F., Hotton, G., Brooks, D.J., Lees, A.J., et al (2006). Clinical correlates of levodopa-induced dopamine release in Parkinson disease: A PET study. Neurology, 67 (9), 1612-17. 6. Cipriani, D., Abel, B.,&Pirrwitz, D. (2003). A comparison of two stretching protocols on hip range of motion: Implications for total daily stretch duration. I Strength Cond Res, 17(2), 274-78. 7. .Dodd, K., Taylor, N., & Bradley, S. (2004). Strength training for older people. In M. Morris & A.Schoo, Optimizing exercise and physical activity in older people 125-57. Philadelphia: Butterworth Heinemann Xu Q, Park Y, Huang X, Hollenbeck A, Blair A, Schatzkin A, et al. Physical activities and future risk of Parkinson disease. Neurology 2011;75(4):341–8. 8. Scandalis, T.A., Bosak, A., Berliner, J.C., Helman, L.L.,&Wells, M.R. (2001). Resistance training and gait function in patients with Parkinson’s disease. Am J Phys Med Rehabil, 80 (1), 38-43. 9. Keus SH, Munneke M, Nijkrake MJ, Kwakkel G, Bloem BR. Physical therapy in Parkinson’s disease: evolution and future challenges. Mov Disord 2009;24: 1–14. 10.Gammon M. Earhart. Dance as Therapy for Individuals with Parkinson Disease. Eur J Phys Rehabil Med 45(2), 231-238. 11. Khongprasert, S., Bhidayasiri, R. Kanungsukkasem, V. (2012), “ A Thai dance exercise regimen for people with Parkinson’s disease”, .Journal of Health Research, 26 (3), p 125-129. 12. Li F, Harmer P, Fitzgerald K, Eckstrom E, Stock R, Galver J, et al. Tai chi and postural stability in patients with Parkinson’s disease. N Engl J Med 2012; 366:511–9. 13.Schmitz-Hubsch T, Pyfer D, Kielwein K, Fimmers R, Klockgether T, Wullner U. Qigong exercise for the symptoms of Parkinson’s disease: a randomized, controlled pilot study. Mov Disord 2006;21:543–8. 14. Duncan RP, Earhart GM. Randomized controlled trial of community-based dancing to modify disease progression in Parkinson disease. Neurorehabil Neural Repair 2012;26:132–43. 15. Christoph Redecker, Anja Bilsing, Ilona Csoti , Wolfgang Fogel, Georg Ebersbach, Bjo¨rn Hauptmann, Bernhard Hellwig, Martina Mu¨ ngersdorf. Physiotherapy in Parkinson’s disease patients: Recommendations for clinical practice. Basal Ganglia 4 (2014) 35–38 |
เดอะมูฟคลับ
|