โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
อาการของโรคหลอดเลือดสมอง FAST F = Face ใบหน้าบูดเบี้ยว, ชาข้างใดข้างหนึ่ง A = Arms แขน ขา, อ่อนแรงข้างใดข้างหนึ่ง S = Speech พูดสับสน, พูดไม่เป็นภาษา T = Time ทันทีทันใด หากมีอาการในข้อหนึ่งข้อใดดังต่อไปนี้ ควรรีบพบแพทย์ทันที เพราะอาการเหล่านี้ล้วนเป็นอาการของโรคหลอดเลือดสมองทั้งสิ้น 1.มีอาการชาหรืออ่อนแรงของแขนขา หรือใบหน้าข้างใดข้างหนึ่ง 2. ตาข้างใดข้างหนึ่งมัวหรือมองไม่เห็น 3. พูดลำบาก พูดไม่ได้ หรือไม่เข้าใจคำพูด 4. มีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงโดยไม่มีสาเหตุชัดเจน 5. มีอาการมึนงง หรือเดินไม่มั่นคง เสียศูนย์ การรักษา การรักษาให้ได้ผลดีขึ้นอยู่กับ 1. เวลา ยิ่งได้รับการรักษาเร็วเท่าไร จะยิ่งมีโอกาสหายเป็นปกติได้มาก 2. ความรุนแรงของโรคที่เป็น ผู้ป่วยที่อาการรุนแรงน้อยจะมีโอกาสหายได้สูงกว่า 3. ความพร้อมของเทคโนโลยีในการรักษา โดยใช้อุปกรณ์หรือเทคนิคที่เหมาะสมและยาที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เป็นปัจจัยที่สำคัญของผลการรักษา สำหรับการรักษาโรคหลอดเลือดสมอง ที่เกิดจากการตีบหรืออุดตันของหลอดเลือดในระยะเฉียบพลันที่มีการศึกษายืนยันแล้วว่าได้ผลดีชัดเจน ได้แก่ 1. การให้ยาสลายลิ่มเลือด (Tissue plasminogen activator, tPA) ทางหลอดเลือดดำแก่ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันภายในเวลา 3 ชั่วโมงหลังเกิดอาการ จะเพิ่มโอกาสของการฟื้นตัวจากความพิการให้อาการกลับมาใกล้เคียงปกติได้ถึง 1.5 – 3 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ป่วยกลุ่มที่ไม่ได้รับยา อย่างไรก็ตามการใช้ยานี้มีความเสี่ยงของเลือดออกในสมองได้ประมาณ 6% 2. การให้รับประทานยาแอสไพรินอย่างน้อย 160 mg ต่อวันภายใน 48 ชั่วโมงหลังเกิดอาการ จะช่วยลดโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบตันซ้ำและเสียชีวิตลง 3. การรับตัวผู้ป่วยไว้ในหอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน (acute stroke unit) นับเป็นการรักษาที่ช่วยลดอัตราการตายหรือพิการอีกวิธีหนึ่ง 4. การผ่าตัดเปิดกะโหลก (Hemicraniectomy) จะพิจารณาทำเฉพาะกรณีที่มีอาการรุนแรงและมีการตีบหรืออุดตันของหลอดเลือดแดงใหญ่ Middle cerebral atery ในสมองเท่านั้น โดยมีหลักฐานการศึกษาว่าการผ่าตัดดังกล่าวสามารถลดอัตราการตายของผู้ป่วยได้ นอกจากนี้การควบคุมความดัน การป้องกันภาวะแทรกซ้อน การทำกายภาพฟื้นฟู การที่คนในครอบครัวร่วมมือกันในการดูแลยามที่ผู้ป่วยท้อแท้ การให้กำลังใจผู้ป่วย ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการฟื้นตัวของผู้ป่วยทั้งสิ้น การรักษาทางกายภาพบำบัดในผู้ป่วยโรคทางระบบประสาท (Neurologic Physical Therapy) เพื่อการฟื้นฟูสำหรับโรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาต (Stroke) 1. กายภาพบำบัดเพื่อช่วยกระตุ้นให้เกิดการฟื้นตัวกล้ามเนื้อ 2. กายภาพบำบัดเพื่อช่วยกระตุ้นการเคลื่อนไหวเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาเคลื่อนไหวส่วนต่างๆได้ตามปกติ หรือ ใกล้เคียงกับชีวิตปกติให้ได้มากที่สุด 3. กายภาพบำบัดเพื่อช่วยกระตุ้นการรับความรู้สึกของผู้ป่วย 4. กายภาพบำบัดเพื่อช่วยป้องกันการติดแข็งของกล้ามเนื้อ เอ็น และข้อต่อ 5. กายภาพบำบัดเพื่อช่วยทำให้ระบบการไหลเวียนเลือดของผู้ป่วยให้ดีขึ้น ภาวะแทรกซ้อนของโรคหลอดเลือดสมอง การติดเชื้อ ทางเดินหายใจ : พบการติดเชื้อที่ปอดบ่อยที่สุด มักเกิดจากการสำลักอาหาร, น้ำลาย ทางเดินปัสสาวะ : การขับถ่ายไม่สะดวก ผิวหนัง : แผลกดทับ, แผลติดเชื้อ ข้อติด เกิดจากการไม่ได้เคลื่อนไหวข้อเป็นเวลานาน จะเกิดการเคลื่อนไหวลำบาก เจ็บเวลาขยับ อักเสบ บวมแดงร้อน ป้องกันโดยช่วยผู้ป่วยขยับข้อต่างๆ ในข้างที่ไม่มีแรง (passive exercise) การเกร็งของกล้ามเนื้อ เกิดจากการขาดการเชื่อมโยงของสมองกับเซลประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหว ทำให้เคลื่อนไหวลำบาก การบิดงอของแขนขา ข้อติด ปวด ลักษณะมือจีบ แขนเกร็ง เหมือนลิง การรักษา การทำ passive exercise ข้อมูลอ้างอิง www.medlib.si.mahidol.ac.th สํานักอนามัย กรุงเทพมหานคร
0 Comments
Your comment will be posted after it is approved.
Leave a Reply. |
เดอะมูฟคลับ
|