ภาวะกระดูกสันหลังคด (Scoliosis) คือ ภาวะความผิดปกติกระดูกสันหลังโดยเกิดการแอ่น (Extension) หรือโค้ง (lordotic) ซึ่งทำให้เกิดการเบี่ยงเบนและหมุนไปด้านเดียวกันของกระดูกสันหลัง (Deviate and axial rotate) โดยวัดมุม Cobb angle ได้มากกว่า 10 องศา ภาพแสดงการวัดมุม cobb angle จากภาพ x-ray ที่มา : https://radiopaedia.org/cases/cobb-angle-measurment ชนิดของกระดูกสันหลังคด (อ้างอิงตาม Schorth’s Scoliosis pattern) โดยแบ่งประเภทของกระดูกสันหลังคดตามระดับของกระดูกสันหลังที่มีพยาธิสภาพ ดังนี้
(ภาพแสดงประเภทของกระดูกสันหลังคด ที่มา ; https://orthosp.com/blog/self-help-treatment-for-scoliosis/ ) สาเหตุที่ทำให้เกิดกระดูกสันหลังคด เช่น การสร้างและการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของกระดูกสันหลังตั้งแต่กำเนิด กล้ามเนื้อหรือระบบประสาทผิดปกติ โรคท้าวแสนปม เป็นต้น แต่ที่พบบ่อยที่สุด ประมาณร้อยละ 80 ของผู้ป่วยกระดูกสันหลังคดทุกชนิด คือ กระดูกสันหลังคดชนิดที่ไม่พบสาเหตุ ซึ่งมักพบในช่วงอายุระหว่าง 10 - 15 ปี แบ่งประเภทของกระดูกสันหลังคด ตามสาเหตุและการเกิดโรค
อาการและอาการแสดง ผู้ป่วยที่มีภาวะกระดูกสันหลังคด อาจจะพบอาการใดอาการหนึ่ง หรือมีอาการหลายอย่างร่วมกันดัง ต่อไปนี้ 1. ปวดหลัง (back pain) เนื่องมาจากการผิดรูปทำให้การทำงานของกล้ามเนื้อหลังไม่สมดุลกันหรือจากภาวะไม่มั่นคงของข้อกระดูกสันหลัง (spinal instability) ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวที่มากเกินปกติ 2. อาการหรืออาการแสดงของการกดทับเส้นประสาท (Nerve root compression symptoms & signs) 3. การเสียการทรงตัวหรือสมดุลของลำตัว (Trunk imbalance) ในขณะยืนหรือเดิน (ภาพแสดงการตรวจประเมินความผิดปกติของกระดูกสันหลังคด ที่มา : https://www.melbournescoliosisclinic.com.au/summer-screening/ ) วิธีการตรวจ
การรักษาทางกายภาพบำบัด เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ยังไม่มีความจำเป็นที่ต้องผ่าตัด มีอาการหรือมุมที่โค้งไม่มากนัก กล้ามเนื้อและแนวกระดูกสันหลังยังไม่มีความเสียหายมาก โดยจะเน้นการออกกำลังกายเป็นหลัก เป้าหมาย เพื่อลดมุมองศา และป้องกันการผิดปกติของแนวกระดูกสันหลังที่จะเพิ่มขึ้น โดยวิธีการรักษามีดังนี้มีดังนี้
3.2 เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว (Core stabilize exercise) 3.3 เพิ่มความทนทานของกล้ามเนื้อ (Endurance) 3.4 เรียนรู้การปรับโครงสร้างที่ถูกต้องของกล้ามเนื้อในแนวแกนกลางลำตัว (Corrective Posture) ท่าบริหารสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะกระดูกสันหลังคด
เริ่มจากผู้ป่วยอยู่ในท่าตั้งคลาน แล้วถ่ายน้ำหนักลงไปส้นเท้า พร้อมกับยืดแขนไปข้างหน้าให้สุด ให้รู้สึกตึงบริเวณกลางแนวสันหลังไปจนถึงบริเวณก้น ค้างไว้ 10-15 วินาที กลับสู่ท่าเริ่มต้น ทำซ้ำ 10 ครั้ง สำหรับแก้กล้ามเนื้อที่มีการหดสั้น เพื่อปรับโครงสร้างของกระดูกสันหลังให้อยู่ในแนวตรง ให้นอนตะแครงทับผ้าหรือหมอนที่มีความแข็งแรงประมาณหนึ่ง โดยให้ผ้านั้นอยู่บริเวณหลังที่มีส่วนโค้งมากที่สุด ยกแขนขึ้นยืดค้างไว้ 10 วินาที แล้วเอาลงข้างลำตัว ทำซ้ำ 10 – 15 ครั้ง ขณะยกแขนขึ้นอาจจะบริหารร่วมกับการฝึกหายใจเข้าออกเพิ่มการขยายตัวของปอดร่วมด้วยได้ Cat and cow stretch : เป็นท่าสำหรับเพิ่มความยืดหยุ่นให้กระดูกสันหลัง โดยเริ่มจากท่าตั้งคลาน โกร่งหลังขึ้นให้สุด และ แอ่นหลังลง ทำซ้ำขึ้นลงช้า ประมาณ 10 – 20 ครั้ง เท่าที่ทำได้ ท่าบริหารกล้ามเนื้อ Brid – dog
Hip Bridge
การปรับท่าทางที่ถูกต้อง (Correct Posture) แหล่งอ้างอิง
0 Comments
Your comment will be posted after it is approved.
Leave a Reply. |
เดอะมูฟคลับ
|